ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ชื่อเล่น เต้น อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย, แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์, อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์พีทีวี, อดีตผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้, อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย

ณัฐวุฒิ เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนสุดท้อง ของสำเนา และปรียา ใสยเกื้อ มีพี่ชายคือ เจตนันท์ ใสยเกื้อ ชื่อเล่น ต้น ส่วนคุณปู่ชื่อ เปี่ยม ใสยเกื้อ และคุณตาชื่อ ชอบ นาคแก้ว

ณัฐวุฒิ จบการศึกษาระดับประถม ที่โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ระดับมัธยม ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2536 จากนั้น สำเร็จการศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชนสำหรับผู้บริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อปี พ.ศ. 2548

ชีวิตครอบครัว ณัฐวุฒิ สมรสกับ สิริสกุล ใสสะอาด ชื่อเล่น แก้ม มีบุตรชายหนึ่งคนคือ นปก (นะ-ปก) ซึ่งแปลว่า ฟ้าคุ้มครอง และบุตรสาวอีกหนึ่งคนคือ ชาดอาภรณ์

ณัฐวุฒิเริ่มมีชื่อเสียงในวงการนักพูด ด้วยการเป็นนักโต้วาทีผู้แทนโรงเรียน จนเป็นแชมป์รายการโต้คารมมัธยมศึกษา ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดยในรอบรองชนะเลิศ พบกับทีมโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งมีสุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ ชื่อเล่น ทุเรียน และสมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ชื่อเล่น เสนาลิง ร่วมแข่งขันด้วย ต่อมาจึงเริ่มต้นอาชีพนักพูด โดยเป็นนักอบรมการพูด กับบริษัท อดัมกรุ๊ป จำกัด ของอภิชาติ ดำดี จากนั้นก็ร่วมโต้วาทีในรายการทีวีวาที ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.เป็นบางโอกาส และต่อมาเป็นดารา ประจำรายการสภาโจ๊ก และรัฐบานหุ่น ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยเป็นเงาเสียงของไตรรงค์ สุวรรณคีรี

เมื่อปี พ.ศ. 2549 ณัฐวุฒิร่วมกับวีระ มุสิกพงศ์ จตุพร พรหมพันธุ์ จักรภพ เพ็ญแข ก่อแก้ว พิกุลทอง และอุสมาน ลูกหยี ก่อตั้งบริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด เพื่อดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี โดยเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีฯ นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ "เพื่อนพ้องน้องพี่ พีทีวีเพื่อประชาชน" ร่วมกับวีระ จตุพร และจักรภพด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ณัฐวุฒิเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการความจริงวันนี้ ซึ่งผลิตโดย บจก.เพื่อนพ้องน้องพี่ และออกอากาศสดทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ร่วมกับวีระ และจตุพร แต่เมื่อรัฐบาลสมชาย มอบหมายให้ณัฐวุฒิ เข้าดำรงตำแหน่งโฆษกรัฐบาล ก่อแก้ว พิกุลทองจึงเข้ามาเป็นผู้ดำเนินรายการแทน แต่เมื่อพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 แล้ว ณัฐวุฒิก็กลับมาดำเนินรายการอีกครั้ง จนต้องยุติการดำเนินรายการทางเอ็นบีที เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 รายการนี้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง ทางสถานีประชาธิปไตย (19 มกราคม-25 มีนาคม) และสถานีประชาชน (15 กรกฎาคม-12 มีนาคม พ.ศ. 2553) ตามลำดับ

หลังการประกันตัวจากข้อกล่าวหาก่อการร้าย ที่ได้รับจากช่วงการชุมนุมเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2553แล้ว ณัฐวุฒิเข้าเป็นผู้ดำเนินรายการ "ฝ่าวงล้อม" (30 มีนาคม-21 เมษายน) ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเชียอัปเดต จนกระทั่งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร เขาจึงยุติรายการนี้ เพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ณัฐวุฒิเข้าเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ "เข้าใจตรงกันนะ" ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีซทีวี โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557 ในทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 21:00-22:00 น. (ต่อมา หลังจากมีคำสั่งศาลปกครองให้พีซทีวีออกอากาศต่อไปได้หลังเพิกถอนใบอนุญาต รายการก็ปรับเวลามาเป็น วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18:20-19:10 น. แทนที่รายการมองไกลของนายจตุพร พรหมพันธุ์) โดยระยะแรกจะเป็นการสนทนาโดยมีพิธีกรทำหน้าที่ดำเนินรายการ ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2558 ได้ปรับรูปแบบโดยณัฐวุฒิดำเนินรายการด้วยตนเอง โดยเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ข่าวสารในแต่ละวัน โดยบางครั้ง นายณัฐวุฒิจะดำเนินรายการผ่านทางโทรศัพท์โดยมีพิธีกรทำหน้าที่ในห้องส่งในบางวัน

ณัฐวุฒิเริ่มเล่นการเมือง โดยเข้าสังกัดพรรคชาติพัฒนา และลงสมัครรับเลือกตั้ง ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 จากการชักชวนของธีรศักดิ์ นาคแก้ว ผู้เป็นน้าชาย แต่ได้คะแนนเป็นอันดับสอง โดยพ่ายแพ้คู่แข่งจากพรรคประชาธิปัตย์เพียง 4,000 เสียง

ต่อมา ณัฐวุฒิเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยร่วมทีมปราศรัยล่วงหน้าของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะทำงานโฆษกพรรคไทยรักไทย ต่อมา พรรคคัดเลือกให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกเป็น ส.ส.[ต้องการอ้างอิง] แต่เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายนขึ้นเสียก่อน

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ณัฐวุฒิ ร่วมกับวีระ มุสิกพงศ์ และจตุพร พรหมพันธุ์ เดินทางมาพบกันยังที่ทำการพรรคเพื่อไทย เพื่อแถลงข่าวต่อต้านการรัฐประหาร ต่อมาช่วงต้นปี พ.ศ. 2550 สถานีโทรทัศน์พีทีวีถูกปิดกั้นสัญญาณดาวเทียม จนไม่สามารถออกอากาศได้ ผู้บริหารและผู้จัดรายการจึงออกมาปราศรัยที่ท้องสนามหลวง จนกระทั่งร่วมกับหลายองค์กรประชาธิปไตยภาคประชาชน จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรหลักภายใต้ชื่อ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ในเวลาต่อมา โดยณัฐวุฒิเข้ารับตำแหน่งเป็นแกนนำคนหนึ่ง และขึ้นปราศรัยต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มาโดยตลอด

ราวกลางปี พ.ศ. 2550 ณัฐวุฒิเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน พร้อมลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบสัดส่วน กลุ่มที่ 8 พื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลที่นำโดยสมัคร สุนทรเวช และหลังจากที่สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ณัฐวุฒิก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชุดนี้

หลังจากรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์สิ้นสุดลง นปก.จึงเปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่เป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และเปลี่ยนชื่อย่อเป็น นปช. โดยณัฐวุฒิยังเป็นแกนนำอยู่ตามเดิม และหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งณัฐวุฒิถูกควบคุมตัว พร้อมกับวีระ มุสิกพงศ์ นายแพทย์เหวง โตจิราการ และแกนนำคนอื่นๆ ในข้อหาก่อการร้าย[ต้องการอ้างอิง]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ณัฐวุฒิได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นที่คาดหมายว่าจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ดูแลสื่อมวลชน) แต่ในการแต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม กลับไม่มีชื่อของณัฐวุฒิในตำแหน่งใดๆ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 19

ณัฐวุฒิได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 แทนนายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)

อำนวย ไชยโรจน์ • หม่อมหลวงขาบ กุญชร • อาจศึก ดวงสว่าง • นิสสัย เวชชาชีวะ • วีระ มุสิกพงศ์ • วีระ มุสิกพงศ์ • กำจัด กีพานิช • อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา • สมศักดิ์ ชูโต • ไตรรงค์ สุวรรณคีรี • มีชัย วีระไวทยะ • สุวิทย์ ยอดมณี • ปรีดิยาธร เทวกุล • ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ • วิษณุ เครืองาม • มนตรี เจนวิทย์การ • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • อรรคพล สรสุชาติ • สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล • วราเทพ รัตนากร • อรรคพล สรสุชาติ • ยงยุทธ ติยะไพรัช • ศิธา ทิวารี • จักรภพ เพ็ญแข • เฉลิมเดช ชมพูนุท • สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี • ยงยุทธ มัยลาภ • ไชยา ยิ้มวิไล • วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ • ฐิติมา ฉายแสง • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • ทศพร เสรีรักษ์ • ธีรัตถ์ รัตนเสวี • สรรเสริญ แก้วกำเนิด

(รองโฆษก) ปราโมทย์ สุขุม • ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ • อภิชาติ หาลำเจียก • ประเทือง วิจารณ์ปรีชา • วุฒิ สุโกศล • มนตรี ด่านไพบูลย์ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • ธำรงค์ ไทยมงคล • วิทยา แก้วภราดัย • อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ • เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ • อำนาจ ชนะวงศ์ • พงศ์เทพ เทพกาญจนา • สมชาย เพศประเสริฐ • สุนัย จุลพงศธร • กนลา ขันทปราบ • สมชาย สหชัยรุ่งเรือง • สาคร พรหมภักดี • ปาน พึ่งสุจริต • รัตนา จงสุทธนามณี • ณหทัย ทิวไผ่งาม • ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ • กุเทพ ใสกระจ่าง • ชัชวาลย์ ชมภูแดง • ภูมิ สาระผล • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • ต่อพงษ์ ไชยสาส์น • ยุรนันท์ ภมรมนตรี • เฉลิมชัย มหากิจศิริ • ดนุพร ปุณณกันต์ • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ • ศุภรัตน์ นาคบุญนำ • วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส • พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ • ศุภชัย ใจสมุทร • ศุภรักษ์ ควรหา • วัชระ กรรณิการ์ • ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ • มารุต มัสยวาณิช • อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด • อนุตตมา อมรวิวัฒน์ • ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา • ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ • สุณิสา เลิศภควัต • สรรเสริญ แก้วกำเนิด • วีรชน สุคนธปฏิภาค


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301